ATTRACTIONS

Singha Bangkok Open 2022

เที่ยวเมืองไทย Amazing ยิ่งกว่าเดิม ไปกับ สิงห์ บางกอก โอเพ่น 2022 - พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ @ปทุมธานี

BY N ON October Mon, 2022 00:16

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

 

ประวัติการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์

 

      ในวาระมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ล้นเกล้าฯ ทรงมีต่อพสกนิกรและประเทศชาติโดยเฉพาะทรงเป็นผู้นำในการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาอาชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมตลอดจนการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของไทยในท้องถิ่นชนบทที่ห่างไกลมาอย่างต่อเนื่องด้วยความวิริยะอุตสาหะจนบังเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนพระราชกรณียกิจของพระองค์นำไปสู่การตื่นตัวด้านการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อการยกระดับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน และการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพคณะรัฐมนตรีในครั้งนั้นจึงได้ดำเนินโครงการ“พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2535 ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้ง องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ขึ้น มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็นหน่วยงานบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์

 

      องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ดำเนินการพัฒนา “พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์” ซึ่งตั้งอยู่ ณ เทคโนธานี เลขที่ 39 หมู่ 3 ถนนเลียบคลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีจนแล้วเสร็จสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ว่า “อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มหาราชินี” อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นด้วยรูปทรงลูกบาศก์ 3 ลูกเชื่อมติดกัน ภายในอาคารประกอบด้วยพื้นที่นิทรรศการ 6 ชั้น ในพื้นที่ 10,000 ตารางเมตร มีการจัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์พื้นฐานวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และวิทยาศาสตร์ในภูมิปัญญาไทยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2543

 

การออกแบบและก่อสร้างอาคาร

 

       อาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มหาราชินี เป็นสถาปัตยกรรมที่มีรูปทรงทันสมัย เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นและสร้างภาพพจน์ใหม่ของพิพิธภัณฑ์สะท้อนถึงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเป็นรูปธรรมนายเฉลิมชัย ห่อนาค รองผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในขณะนั้น  เป็นหัวหน้าคณะออกแบบ ได้สร้างสรรค์ความแปลกใหม่ของรูปทรงอาคารเชิงเรขาคณิตมาใช้ในงานสถาปัตยกรรม และโครงสร้างทางวิศวกรรม โดยการนำมุมแหลมของรูปทรงลูกบาศก์มาเป็นฐาน ใช้ลูกบาศก์ 3 ลูก พิงกันอย่างมีเสถียรภาพ มีฐานรับน้ำหนักเพียง 3 จุด ๆ ละ 4,200 ตัน โครงสร้างอาคารเป็นโครงเหล็ก ป้องกันสนิมโดยเคลือบด้วยสี Epoxy  พื้นทั้ง 5 ชั้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ออกแบบให้รับน้ำหนักบรรทุกได้ 500 กิโลกรัมต่อตารางเมตร รับแรงลมที่มาปะทะอาคารได้ 120 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ส่วนผนังอาคารเป็นแผ่นเหล็กเคลือบผิวด้วยเซรามิก (Ceramic Steel) มีคุณสมบัติที่ดีด้านความคงทนถาวร โดยไม่ต้องทาสีตลอดอายุการใช้งาน เป็นฉนวนป้องกันความร้อนซึ่งช่วยประหยัดพลังงานในการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารได้เป็นอย่างดีและอาคารสูงประมาณ 45 เมตร นิทรรศการในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แต่ละชั้นประกอบด้วย สาระดังนี้

ชั้นที่ 1 นักวิทยาศาสตร์รุ่นบุกเบิก กิจกรรมเสริมศึกษา โลกของหนูน้อยนักประดิษฐ์ (Enjoy Maker Space), Engineering Design, ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์แบบโดม, การแสดงทางวิทยาศาสตร์ และนิทรรศการหมุนเวียน

ชั้นที่ 2 ประวัติและความเป็นมาของทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

ชั้นที่ 3 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน อุโมงค์พลังงาน และ โรงภาพยนตร์พลังงาน 4 มิติ

ชั้นที่ 4 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย

ชั้นที่ 5 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน

ชั้นที่ 6 เทคโนโลยีภูมิปัญญาไทย

LIVE REPORT